เผยผิวสวย ไร้ริ้วรอยด้วย Picosecond Laser

Picosecond Laser ปรับสภาพผิวให้กระจ่างใสเรียบเนียน

     Picosecond Laser คือ เลเซอร์รักษากระ จุดด่างดำ ลบรอยสัก ปรับสีผิวให้กระจ่างใส ไร้ริ้วรอย และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเรียบเนียน ซึ่งเพิ่งเข้ามาในไทยได้ไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดย Picosecond Laser สามารถยิงพลังงานที่สูงในช่วงระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้เม็ดสีแตกตัวได้อย่างละเอียด จึงใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่าเครื่องเลเซอร์ในระบบเดิม (เช่น Q-Switched Laser ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชนิดเก่า)
     Picosecond Laser ปล่อยแสงเลเซอร์ในระยะเวลา (pulse duration) 750 พิโควินาที (picosecond) ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า photo-acoustic เพื่อกำจัดเม็ดสีของรอยโรคหรือรอยสักที่ต้องการรักษาโดยไม่ก่อให้เกิดความร้อนขึ้นใต้ผิว ไม่ก่อให้เกิดแผลเป็นหรือต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นหลังเข้ารับการรักษา

จุดเด่น Pico Laser

     หลักการทำงานคือการให้กำเนิดความยาวคลื่นในช่วงนาโนเมตรที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหา โดยปล่อยแสงเลเซอร์ที่มีระยะเวลา (pulse duration) 750 พิโควินาที (picosecond) ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า photo-acoustic ทำให้เม็ดสีของน้ำหมึก (tattoo ink particles) หรือเม็ดสีเมลานิน (melanin) แตกตัวออกเพื่อให้ร่างกายกำจัดออกจากร่างกายโดยระบบน้ำเหลืองตามกลไกธรรมชาติ

     ซึ่งพลังงานครอบคลุมต่อการรักษาความผิดปกติของเม็ดสี, รอยสักทั้งสีอ่อนและสีเข้ม ทั้งยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาปัญหาหลากหลาย เช่น

  1. ใช้เพื่อรักษาความผิดปกติของเม็ดสี (Benign pigmented lesions) เช่น กระตื้น (Freckles), กระแดด (Solar lentigines), ปานโอตะ (Nevus of Ota), กระลึก (Hori’s Nevus)
    ช่วยให้ผิวกระจ่างขึ้น สีผิวสม่ำเสมอขึ้น (Skin Revitalization) และรักษาฝ้า (Melasma) ได้
  2. ช่วยให้ผิวกระจ่างขึ้น สีผิวสม่ำเสมอขึ้น (Skin Revitalization) และรักษาฝ้า (Melasma) ได้
  3. มีหัวยิงพิเศษ Micro Lens Array (MLA) หรือ หัวทองคำ ซึ่งเป็นเลนส์เอกสิทธิ์เฉพาะหนึ่งเดียวในโลก เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นแรงอัดกระแทกความเร็วสูง สร้างลูกโป่งใต้ชั้นผิว ทำให้พังผืดหลุมสิวขาดออกจากกันโดยไม่ต้องใช้เข็มแบบวิธีเดิม ๆ และยังช่วยปรับความเรียบเนียนของผิว (Texture), ลดเลือนริ้วรอย (Wrinkles), กระตุ้นการจัดเรียงตัวของคอลลาเจน (Collagen Remodeling), รักษาแผลเป็นหลุมสิว (Acne Scars) และ แผลเป็น (Traumatic Scars) ได้
  4. รักษารอยสักสีเข้ม (Dark colored tattoo inks), รักษารอยสักสีอ่อน (Lighter colored tattoo inks) ได้

ความรู้สึกขณะทำ Pico Laser เจ็บหรือไม่

คนไข้จะรู้สึกดีดเบา ๆ ที่ผิว โดยเฉพาะบริเวณที่มีเม็ดสีที่ผิดปกติ และอาจรู้สึกเพิ่มขึ้นในรอยสักที่มีเม็ดสีหนาแน่น ทั้งนี้ ขณะทำการรักษา จะมีการเป่าลมเย็นเพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษารู้สึกสบายผิวขึ้น ระดับความเจ็บน้อย (2/10) จึงไม่จำเป็นต้องทายาชา แต่สามารถทายาชาได้หากกังวลว่าจะเจ็บ
อย่างไรก็ดี ผู้ที่รักษาหลุมสิว รูขุมขนกว้าง จำเป็นต้องใช้พลังงานที่ลงลึกกว่าการรักษาแบบอื่น จึงต้องทายาชาทิ้งไว้ก่อนการเลเซอร์ประมาณ 30-45 นาที เพื่อลดความเจ็บ และหลังรักษาอาจมีอาการช้ำ (purpura) หรือ มีรอยจ้ำหรือเกิดจุดเลือดออกใต้ผิว (petechiae/pinpoint bleeding) ซึ่งรอยนี้จะหายได้เอง โดยเฉลี่ย 3-7 วัน

Pico Laser ใช้รักษาอะไรได้บ้าง
  1. รักษาผิวหมองคล้ำที่ใบหน้า ต้องการผิวกระจ่างขึ้น สีผิวสม่ำเสมอขึ้น ดูมีออร่า (Skin Revitalization) ตื่นเช้ามาดูสดใสทันที (Wake up confident)
  2. รักษากระบริเวณใบหน้า แขน หลังมือ หรือตามลำตัว (Pigmented lesions)
  3. รักษารอยโรคสีดำ ได้แก่ ฝ้า (Melasma) กระตื้น (Freckle) กระลึก (Hori’s Nevus) กระแดด (Solar lentigo)
  4. รักษาจุดด่างดำจากการอักเสบบนใบหน้าและลำตัว (PIH) เช่น รอยดำสิว รอยดำจากการแกะเกา เป็นต้น
  5. ลบรอยสัก เช่น รอยสักตามตัว รอยสักที่คิ้ว (Tattoo Removal)
  6. รักษาผิวคล้ำบริเวณริมฝีปาก รักแร้ และฐานนม (Skin Rejuvenation)
  7. ต้องการรักษารอยดำจากอุบัติเหตุ รอยแผลเป็นตามร่างกาย (Traumatic Scars) โดยไม่อยากรับการรักษาที่มีสะเก็ดหรือดูแลตัวเองยาก
  8. ลดหน้ามัน กระชับรูขุมขนที่กว้าง ให้ดูเรียบเนียน (Reduce Pore Size)
  9. ลดริ้วรอย (Wrinkles) ปรับความเรียบเนียนของผิว (Texture) กระตุ้นคอลลาเจน ให้ผิวหนังแข็งแรง (Collagen Remodeling)
  10. รักษาหลุมสิว (Acne Scars) โดยไม่อยากรับการรักษาที่มีสะเก็ดหรือดูแลตัวเองยาก
  11. รักษารอยแตกลาย (Stretch Marks)
  12. ลบปานดำ ปานโอตะ (Nevus of Ota)

ใครที่ไม่เหมาะที่จะทำ Pico Laser

  1. ผู้ที่ตั้งครรภ์
  2.  ผู้ที่กำลังรับการรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง
  3. ผู้ที่เข้ารับการรักษา Gold therapy อาจทำให้เกิดสีที่ไม่สม่ำเสมอเป็นสีน้ำเงิน-เทา (blue-gray discoloration)
  4. ผู้ที่สักสีที่ใบหน้ามา เช่น BB Glow เป็นต้น
  5. ผู้ที่ได้รับยากลุ่มที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดรอยช้ำหรือจ้ำได้ (purpura or bruising)
  6. ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ (Bleeding disorders)
  7. ผู้ที่เป็นโรคด่างขาว (Vitiligo) หรือผู้ที่มีการสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติ (Pigmentary disorders)
  8. ผู้ที่มีอาการของโรคเริม (Herpes) ความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการทำการรักษาสามารถกระตุ้นรอยโรคได้ แนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัส (antiviral) ก่อนเข้ารับการรักษา
  9. ผู้ที่มีแผลติดเชื้อ
  10. ผู้ที่มีแผลเปิด แนะนำให้ทำการรักษาได้เฉพาะในบริเวณที่ผิวแข็งแรง
  11. ผู้ที่มีประวัติของโรคลมชักที่สามารถกระตุ้นได้ด้วยแสง